รีเซต

ประวัติ แอ๊ด คาราบาว ยืนยง โอภากุล ตำนานเพลงเพื่อชีวิตสู่คลิปเดือด

ประวัติ แอ๊ด คาราบาว ยืนยง โอภากุล ตำนานเพลงเพื่อชีวิตสู่คลิปเดือด
MusicHot
14 ตุลาคม 2565 ( 08:40 )
30.7K

ประวัติ แอ๊ด คาราบาว หรือ ยืนยง โอภากุล เกิดวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2497 ที่จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นบุตรชายฝาแฝดคนสุดท้องของ นายมนัส โอภากุล (แซ่โอ๊ว) และ นางจงจินต์ แซ่อึ๊ง มีใจรักเสียงดนตรีตั้งแต่เด็กๆ ส่วนหนึ่งมาจากที่พ่อของ แอ๊ด เป็นหัวหน้าวงดนตรีประจำจังหวัดสุพรรณบุรี ชื่อวงดนตรี ชสพ. เมื่อปี พ.ศ. 2480

ต่อมาเมื่อเข้าสู่วัยรุ่นได้รับอิทธิพลจากดนตรีแนวตะวันตกจึงหันมาเล่นเครื่องดนตรีตะวันตกต่าง ๆ เช่น กีตาร์ ซึ่งเหล่านี้ได้เป็นอิทธิพลในการเป็นนักดนตรีในเวลาต่อมา ปัจจุบัน แอ๊ด เป็นนักร้องเพื่อชีวิตอันดับต้นๆ ของเมืองไทย พร้อมเป็นเจ้าของธุรกิจชื่อดัง

 

แอ๊ด คาราบาว เข้าเรียนโรงเรียนวัดสุวรรณภูมิในช่วงชั้นประถมศึกษา จากนั้นได้เข้าศึกษาโรงเรียนกรรณสูตศึกษาลัย หลังจากสำเร็จการศึกษาในชั้นมัธยม แอ๊ด ได้เดินทางเข้าสู่กรุงเทพฯ โดยขอติดมากับรถขนส่งไปรษณีย์ เข้าเรียนต่อใน สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตอุเทนถวาย (โรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวาย)

และต่อในระดับปริญญาตรี สาขาสถาปัตยกรรมศาสตร์ ที่สถาบันเทคโนโลยีมาปัว ประเทศฟิลิปปินส์ เป็นเวลา 1 ปี เมื่อแอ๊ด คาราบาว สำเร็จการศึกษาและกลับมาเมืองไทย ได้ทำงานประจำเป็นสถาปนิกในสำนักงานเอกชนแห่งหนึ่ง และมีงานส่วนตัวคือรับออกแบบบ้านและโรงงาน

แอ๊ด เข้าสู่วงการเพลง สืบเนื่องมาจาก มีจิตใจรักเสียงเพลงและดนตรีมาตั้งแต่เด็ก ๆ จากการที่เป็นชาวสุพรรณบุรีโดยกำเนิด จึงได้ชอบการละเล่นพื้นบ้านของภาคกลาง เช่น ลำตัด, เพลงฉ่อย, เพลงอีแซว รวมถึงรำวง และเพลงลูกทุ่ง จากการที่พ่อ คือ นายมนัส เป็นหัวหน้าวงดนตรีประจำจังหวัดสุพรรณบุรี ชื่อวงดนตรี ชสพ. เมื่อปี พ.ศ. 2480 ต่อมาเมื่อเข้าสู่วัยรุ่นได้รับอิทธิพลจากดนตรีแนวตะวันตกจึงหันมาเล่นเครื่องดนตรีตะวันตกต่าง ๆ เช่น กีตาร์ ซึ่งเหล่านี้ได้เป็นอิทธิพลในการเป็นนักดนตรีในเวลาต่อมา

และตอนเรียนที่ ประเทศฟิลิปปินส์ แอ๊ดได้พบกับเพื่อนคนไทยที่ไปเรียนหนังสือที่นั้น คือ ไข่ สานิตย์ ลิ่มศิลา และ เขียว กีรติ พรหมสาขา ณ สกลนคร ซึ่ง แอ๊ด ได้มีโอกาสฟังเพลงของ เลด เซพเพลิน, จอห์น เดนเวอร์, ดิ อีเกิ้ลส์ และ ปีเตอร์ แฟลมตัน จากแผ่นเสียงที่ ไข่ สานิตย์ ลิ่มศิลา สะสมไว้เป็นจำนวนมาก ซึ่งต่อมา ทั้ง 3 จึงร่วมกันตั้งวงดนตรีขึ้นมา โดยใช้ชื่อว่า คาราบาว เพื่อใช้ในการแสดงบนเวทีในงานของสถาบัน

โดยเล่นดนตรีแนวโฟล์ค พายุภา อาหล่ามกุล ต่อมาเมื่อไข่และเขียวกลับมาจากประเทศฟิลิปปินส์ ทั้ง 3 ได้เล่นดนตรีร่วมกันอีกครั้งโดยเล่นในห้องอาหารที่โรงแรมวินเซอร์ ซอยสุขุมวิท 20 และต่อมาย้ายไปเล่นที่โรงแรมแมนดาลิน สามย่าน โดยขึ้นเล่นในวันศุกร์และเสาร์ แต่ทางวงถูกไล่ออกเพราะขาดงานหลายวันโดยไม่บอกกล่าว เมื่อวงถูกไล่ออก ไข่จึงได้ขอลาออกจากวงและแยกตัวออกไปทำงานรับเหมาก่อสร้างอยู่ทางภาคใต้ แอ๊ดและเขียวยังคงเล่นดนตรีต่อไป

โดยเล่นร่วมกับโฮป แฟมิลี่ ต่อมาปี พ.ศ. 2523 แอ๊ด คาราบาว ได้ทำงานเป็นสถาปนิก ประจำสำนักงานบริหารโครงการ ของการเคหะแห่งชาติ ส่วนเขียวทำงานเป็นวิศวกร ประเมินราคาเครื่องจักรโรงงานอยู่กับบริษัทของประเทศฟิลิปปินส์ที่มาเปิดสาขาในประเทศไทย และทั้งคู่จะเล่นดนตรีในตอนกลางคืน โดยเล่นประจำที่ดิกเก็นผับ ในโรงแรมแอมบาสเดอร์ สุขุมวิท

แอ๊ด คาราบาว เริ่มเข้าวงการและเริ่มมีชื่อเสียงจากการ รับหน้าที่เป็นโปรดิวเซอร์อัลบั้มชุดแรกให้กับ วงแฮมเมอร์ ในปี พ.ศ. 2522 ใน ชุด บินหลา โดย แอ๊ด คาราบาว ยังเป็นผู้ออกแบบปกอัลบั้มด้วย โดยอัลบั้มชุดนี้ทำให้แฮมเมอร์เป็นที่รู้จักในวงการเพลง และปี พ.ศ. 2523 แอ๊ดยังได้แต่งเพลง ถึกควายทุย ให้แฮมเมอร์บันทึกเสียงในอัลบั้ม ปักษ์ใต้บ้านเรา ซึ่งอัลบั้มชุดดังกล่าวทำให้แฮมเมอร์โด่งดังอย่างมาก และได้ร่วมแต่งเพลงประกอบภาพยนตร์ของ พนม นพพร ใน เรื่องหมามุ่ย ในปี พ.ศ. 2524

 

หลังจากนั้นตัวของ แอ๊ด คาราบาว ก็มีความคิดที่ว่าหากจะออกอัลบั้มเป็นของตัวเอง คงจะประสบความสำเร็จเช่นเดียวกัน จึงร่วมกับเขียว ออกอัลบั้มชุดแรกของวง คาราบาว ในชื่อชุด ขี้เมา ในปี พ.ศ. 2524 สังกัดพีค็อก สเตอริโอ

ซึ่งไม่ประสบความสำเร็จมากนัก ปีถัดมา คาราบาว ได้สมาชิกใหม่เพิ่มอีก 1 คน คือ เล็ก - ปรีชา ชนะภัย มือกีตาร์ จากวง เพรสซิเดนท์ (เล็กเป็นเพื่อนเก่าของแอ๊ดตั้งแต่สมัยเรียนอยู่ช่างก่อสร้างอุเทนถวายด้วยกัน) มาร่วมงานในชุดที่ 2 คือชุด แป๊ะขายขวด ชุดที่ 3 ชุด "วณิพก" ในระหว่างนั้นวงคาราบาวในยุคแรกก็ได้ออกทัวร์เล่นคอนเสิร์ตตามโรงภาพยนตร์ต่าง ๆ ทั่วประเทศ แต่ไม่ได้รับความสนใจเท่าไร บางครั้งมีคนดูไม่ถึง 10 คนก็มี

คาราบาว มาประสบความสำเร็จถึงขีดสุดในอัลบั้มชุดที่ 5 ของวง คือชุด เมด อิน ไทยแลนด์ ที่วางจำหน่ายในปลายปี พ.ศ. 2527 ซึ่งมียอดจำหน่ายสูงถึง 5,000,000 ตลับ/ก๊อปปี้ ซึ่งเป็นสถิติที่สูงที่สุดในประเทศไทย และนับตั้งแต่นั้น ชื่อของ ยืนยง โอภากุล หรือ แอ๊ด คาราบาว ก็เป็นที่รู้จักกันดีของคนไทย และออกผลงานเพลงร่วมกับวงคาราบาวมาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงได้แสดงคอนเสิร์ตที่สหรัฐอเมริกาอีกด้วย

 

ครอบครัว

สมรสกับ นางลินจง โอภากุล หญิงชาวบุรีรัมย์ มีบุตร-ธิดา ด้วยกัน 3 คน เป็นหญิง 2 คน คือ ณิชา โอภากุล และ นัชชา โอภากุล และชาย 1 คน คือ ร้อยตำรวจเอก (ร.ต.อ.) วรมันต์ โอภากุล มีพี่ชายฝาแฝดอีก 1 คน เป็นศิลปินเพลงเพื่อชีวิตเหมือนกัน คือ อี๊ด - ยิ่งยง โอภากุล และเคยออกอัลบั้มร่วมกัน 1 อัลบั้ม คือ อัลบั้ม พฤษภา ในปี พ.ศ. 2535 หลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ

ชีวิตส่วนตัว

ชีวิตส่วนตัว แอ๊ด คาราบาว มีชื่อเป็นภาษาจีนกลางว่า "หูฉุนฉาง" (胡存長) แปลว่า "คนแซ่หูผู้มีฐานะมั่นคงชีวิตยืนยง" ชอบเลี้ยงไก่ชนซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงที่ชื่นชอบมาตั้งแต่เด็ก ๆ และมีฟาร์มไก่ชนเป็นของตัวเอง รวมถึงยังดำรงตำแหน่งนายกสมาคมส่งเสริมอาชีพไก่ชนไทย นอกจากคาราบาวแดงแล้ว ยังมีกิจการทางดนตรีอีก คือ มีห้องอัดเสียงที่บ้านของตัวเอง ชื่อ เซ็นเตอร์สเตจ สตูดิโอ (มองโกล สตูดิโอ) ซึ่งเป็นสตูดิโอระดับชั้นแนวหน้าแห่งหนึ่งของเมืองไทย และมีบริษัทเพลงชื่อ มองโกล เรคคอร์ดส นอกจากนั้น แอ๊ด คาราบาว ยังชอบเล่นปืน เคยฝึกยิงปืน IPSC และสะสมปืนอยู่จำนวนหนึ่ง

อุปสมบทเมื่อปี 2528 ที่วัดสุวรรณภูมิวัดที่ โยมแม่ทำบุญประจำ เนื่องจาก ตอนที่บวช กุฏิไม่เพียงพอให้จำวัด พระแอ๊ด จึงต้องจำวัดในโบสถ์ ถือเป็นพระรูปเดียวของวัดสุววรภูมิ ที่ได้จำวัดในโบสถ์ เมื่อบวชได้ 10 วัน ก็ลาสิกขา จึงออกเทปชุด เมดอินไทยแลนด์ อันโด่งดัง

ในกลางปี พ.ศ. 2556 ในภาพยนตร์เรื่อง ยังบาว อันเป็นภาพยนตร์ชีวประวัติของวงคาราบาว ผู้ที่รับบทเป็นแอ๊ด คือ ธนา เอี่ยมนิยม จากเดิมที่วางตัวไว้ คือ อาทิวราห์ คงมาลัย หรือ ตูน บอดี้สแลม ที่คิวคอนเสิร์ตไม่ตรงกับเวลาถ่ายทำ

ธุรกิจ

ยืนยง โอภากุล ร่วมทุนกับ นายเสถียร เศรษฐสิทธิ์ และ นางสาวณัฐชไม ถนอมบูรณ์เจริญ จัดตั้งบริษัท คาราบาวกรุ๊ป จำกัด เมื่อปี พ.ศ. 2544 เพื่อดำเนินธุรกิจผลิต ทำการตลาดและจำหน่ายเครื่องดื่มบำรุงกำลัง จากนั้นนำบริษัทฯ เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2557 จากข้อมูล ณ วันที่ 7 เมษายน 2560 ถือหุ้นในบริษัทมากเป็นลำดับที่ 3 ด้วยจำนวน 70,480,000 หุ้น หรือคิดเป็นร้อยละ 7.05 นิตยสาร ฟอบส์ ฉบับภาษาไทย ระบุว่า "เป็นนักดนตรีที่ร่ำรวยสุดในประเทศไทย" (The Richest Musician) 

บทบาททางสังคมและข้อวิจารณ์

โดย ยืนยง โอภากุล หรือ แอ๊ด คาราบาว ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าวง เป็นผู้มีบุคคลิกเป็นตัวของตัวเองสูง กล้าพูดกล้าวิพากษ์วิจารณ์เรื่องราวต่าง ๆ ในสังคมอย่างแรงและตรงไปตรงมา โดยสะท้อนออกมาในผลงานเพลง ที่เจ้าตัวจะเป็นผู้เขียนและร้องเองเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งมีออกมามากมายทั้งอัลบั้มในนามของวงและอัลบั้มเดี่ยวของตนเอง จนถึงวันนี้ไม่ต่ำกว่า 900 เพลง รวมถึงการแสดงออกในทางอื่น ๆ ด้วย ซึ่งก็มีทั้งผู้ที่ชอบและไม่ชอบ โดยผู้ที่ไม่ชอบคิดเห็นว่า เป็นการแสดงออกที่ก้าวร้าว รวมถึงตั้งข้อสังเกตด้วยถึงเรื่องการกระทำของตัวยืนยงเอง

แอ๊ด คาราบาว ไม่จำกัดตัวเองแต่ในบทบาทของศิลปินเพลงเท่านั้น แต่ยังเป็นพิธีกรรายการโทรทัศน์และมีผลงานเขียนหนังสือและแสดงละคร ภาพยนตร์ต่าง ๆ ด้วย อาทิ เช่น เรื่องพรางชมพู กะเทยประจัญบาน (พ.ศ. 2545) ละครเรื่อง เขี้ยวเสือไฟ ทางช่อง 9 (พ.ศ. 2544) ลูกผู้ชายหัวใจเพชร ทางช่อง 7 (พ.ศ. 2546) เป็นต้น รวมถึงการทำงานภาคสังคมและมูลนิธิต่าง ๆ และยังได้แต่งเพลงประกอบโฆษณาหรือโครงการต่าง ๆ ของหน่วยงานภาครัฐในแต่ละโอกาสด้วย

ในปลายปี พ.ศ. 2545 แอ๊ด คาราบาว ได้เปลี่ยนบทบาทของตัวเองอย่างสำคัญอีกครั้งหนึ่ง โดยเป็นหุ้นส่วนสำคัญคนหนึ่งของเครื่องดื่มชูกำลังยี่ห้อ คาราบาวแดง โดยใช้ชื่อวงดนตรีของตัวเองมาเป็นจุดขาย ก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างในสังคมว่า สมควรหรือไม่ กับผู้ที่เคยสู้เพื่ออุดมการณ์มาตลอด มาเป็นนายทุนเสียเอง ในปัจจุบันประชาชนหลายคนก็ยังเคลือบแคลงในจุดยืนของแอ๊ด

อย่างไรก็ตาม แอ๊ด คาราบาว ถือได้ว่าเป็นนักร้อง นักแต่งเพลงที่มีความสามารถแต่งเพลงสอดคล้องกับเหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ ของบ้านเมืองมาอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ เช่น มะโหนก (ถึกควายทุย ภาค ๖) จากกบฏทหารนอกราชการ ในวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2528 ราชดำเนิน, ใครฆ่าประชาชน, ล้างบาง, กระบี่มื้อเดียว, ทะเลใจ จากเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535 , ขวานไทยใจหนึ่งเดียว จากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในปี พ.ศ. 2547 ซับน้ำตาอันดามัน จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิถล่มในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547 เว้นวรรค

จากเหตุการณ์การขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร พ.ศ. 2549, ทหารพระราชา จากเหตุการณ์รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 , ทรงพระเจริญ เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมายุครบ 80 พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2550, ลดธงครึ่งเสา

จากเหตุการณ์สลายการชุมนุมหน้าอาคารรัฐสภา ในวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2551, ผู้ปิดทองหลังพระ เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมายุครบ 7 รอบ 84 พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2554 , น้ำใจไทย จากเหตุการณ์มหาอุทกภัยในภาคกลางของไทย พ.ศ. 2554 , นาวารัฐบุรุษ จากเหตุการณ์รัฐประหารในประเทศไทย ในวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 , เทพเจ้าด่านขุนทด จากการมรณภาพของหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ ในปี พ.ศ. 2558 เป็นต้น

 

ผลงานอัลบั้มเดี่ยว

กัมพูชา พ.ศ. 2527 ค่ายเพลงอามีโก้

  • กัมพูชา
  • ดิน น้ำ ลม ไฟ
  • ตำนานแผ่นดิน
  • ทะเลทราย
  • คนหลังเขา
  • ลาวเดินดิน
  • เดือนเพ็ญ
  • ฝ่าลมฝน
  • จันทร์เจ้าขา
  • ถามหาความรัก

ทำมือ พ.ศ. 2532 ค่ายเพลงอามีโก้ , แว่วหวาน

  • ทำมือ
  • รักทรหด (2)
  • สุรชัย 3 ช่า (ร้องร่วมกับ หงา คาราวาน)
  • พลจันทร์เดือนเพ็ญ (ร้องร่วมกับ อัสนี โชติกุล & หงา คาราวาน)
  • วอลซ์ ทบ.
  • ฉานสเตท
  • ออกซิเจน
  • แง้มใจ
  • รักต้องสู้
  • สระแก้ว
  • สิงค์โปร์
  • ไอ้โต
  • โอ้ลาล้า

ก้นบึ้ง พ.ศ. 2533 ค่ายเพลงแว่วหวาน

  • ไอ้ทุยแถลงการณ์
  • ชีวิตบ้านนา
  • เหล้าจ๋า (หงา & หว่อง คาราวาน)
  • ดอกจาน
  • หนุ่มสุพรรณ
  • หนุ่มลำมูล
  • มนต์การเมือง
  • กลิ่นรวงทอง
  • น้ำท่วม
  • ล่องใต้

โนพลอมแพลม พ.ศ. 2533 ค่ายเพลงดี - เดย์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์

  • โนพลอมแพลม
  • ไอ้หำ
  • เขื่อน
  • สนั่นป่า
  • มากะพระ
  • สืบทอดเจตนา
  • ภควัทคีตา
  • ขนม
  • แมงกะไซค์
  • ยืนยง

World Folk Zen พ.ศ. 2534 ค่ายเพลงดี - เดย์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์

  • ยืนยงอย่างเนลยัง (ร่วมกับ ทอดด์ ลาเวลล์)
  • บ้า
  • WORLD (ร่วมกับ ทอดด์ ลาเวลล์)
  • ฝนดิน
  • เพื่อเมืองไทย (ร่วมกับ เทียรี่ เมฆวัฒนา)
  • ศรอรชุน
  • หลวงพ่อประจักษ์
  • แสงดาว (ร่วมกับ ทอดด์ ลาเวลล์)
  • ประตูหลัง
  • บรรพบุรุษชาวนา

พฤษภา (ร่วมกับ ยิ่งยง โอภากุล) พ.ศ. 2535 ค่ายเพลงดี - เดย์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์

  • ใครฆ่าประชาชน
  • คนเหล็ก
  • ราชดำเนิน
  • เอดส์
  • นักสู้บลูยีนส์
  • ล้างบาง
  • ก้นโด่ง
  • กระบี่มื้อเดียว
  • ทะเลใจ
  • ใจอยู่ที่กระบี่

รอยคำรณ พ.ศ. 2537 ค่ายเพลงวอร์นเนอร์ มิวสิก ไทยแลนด์

  • หมอลำร็อก
  • ชีวิตคำรณ
  • กระท่อมกัญชา
  • บ้านยายหอม
  • คนแก่โลก
  • ชีวิตบ้านนา
  • น้ำตาทรพี
  • คนนอกสังคม (พยัพ คำพันธุ์)
  • หวยใต้ดิน
  • รักสาวเมืองสิงห์
  • ชีวิตช่างตัดผม
  • เศรษฐีเงินถัง
  • มนต์การเมือง
  • ขวานทองของไทย

ข้าวสีทอง พ.ศ. 2538 กระบือ แอนด์ โค

  • เมล็ดข้าวสีทอง
  • รวงข้าวสีทอง
  • วิมานดิน (แบบโฟล์ค)
  • เพลงชัย
  • คนทำนา
  • ทุ่มฝัน
  • นักรบคนจน
  • ศิลปินมาแล้ว (สหายเทิด ภูพาน)
  • ดอกไม้ธรรมศาสตร์
  • นกน้อย
  • ตำนานวีรชน
  • The Man City Lion (แบบโฟล์ค)

เดอะแมนซิตี้ไลอ้อน พ.ศ. 2539 ค่ายเพลงกระบือ แอนด์ โค

  • วิมานดิน
  • เดอะแมนซิตี้ไลอ้อน
  • รวงข้าวสีทอง
  • คนทำนา
  • ขอทานอยากเรียน/ขวัญใจคนใช้ถนน
  • ทุ่มฝัน
  • ศิลปินมาแล้ว (สหายเทิด ภูพาน)
  • นักรบคนจน
  • นกน้อย
  • คนสู้ชีวิต
  • นายขนมต้ม
  • คลานไปตายดาบหน้า

เหลืองหางขาว พ.ศ. 2543 ค่ายเพลงกระบือ แอนด์ โค

  • ไก่ชน 2000
  • เหลืองหางขาว
  • ปีศาจสุรา
  • เบื่อ
  • กบฏ
  • ดอกไม้ริมทาง
  • แมงลืมตัว
  • ฝากจันทร์
  • ชายที่โคนต้นโพธิ์
  • จดหมายจากป๋าเปรม

คนไทยหรือเปล่า พ.ศ. 2544 ค่ายเพลงกระบือ แอนด์ โค

  • คนไทยหรือเปล่า
  • เขี้ยวเสือไฟ
  • แก้วเฮือน
  • กุหลาบปากซัน
  • จำปาเมืองลาว
  • ฮักสาวโพนโฮง
  • สองฝั่งของ
  • หนาวหมอก
  • โขงสัมพันธ์
  • อัศวินดำ

ไม่ต้องร้องไห้ พ.ศ. 2545 ค่ายเพลงมองโกล เอ็มดีเทป

  • ไม่ต้องร้องไห้
  • รัฐฉานบ้านเรา
  • ตราบวันที่เป็นไท
  • คิดบัญชี
  • บางระจัน (เร็กเก้)
  • ฉันยิงกะลา
  • มาร่วมกัน
  • A PLACE TO CALL HOME
  • จับอาวุธ
  • คนไทยทิ้งแผ่นดิน

OTOP พ.ศ. 2547 ค่ายเพลง วอร์นเนอร์ มิวสิก ไทยแลนด์

  • OTOP
  • เมาไม่ขับ
  • โลกแห่งความรัก
  • ไข้หวัดนก
  • วัคซีนเพื่อชีวิต
  • สาวมอร์เตอร์เวย์
  • พายชีวิต (สุนารี ราชสีมา)
  • ชะตารัก
  • คนแบกเป้
  • ไม่ยืนยง

ซึม เศร้า เหงา แฮงค์ พ.ศ. 2548 ค่ายเพลงวอร์นเนอร์ มิวสิก ไทยแลนด์

  • ตำนานดวงดาว
  • ตามเสียงหัวใจ
  • เจ็บเพื่อเข้าใจ
  • ความฝัน ความจริง
  • อยากให้อยู่ด้วย
  • รัก ยิ้ม
  • เมืองไทย 2651
  • คนโลภ
  • ความหมาย
  • เวลาที่เหลือ
  • อีกไม่นาน
  • ที่สุดของคน
  • อย่ากลัว

แมงฟอร์ซวัน พ.ศ. 2549 ค่ายเพลงวอร์นเนอร์ มิวสิก ไทยแลนด์

  • แมงฟอร์ซวัน
  • มันเป็นลิง
  • กนกพงศ์
  • ก้านกล้วย
  • รวยเพื่อน
  • บริการรับนวดหน้า
  • ตัวละหลึง
  • สายธารที่หวนคืน
  • หนุ่ม XO
  • สู้ต่อไป

รัฐฉานตำนานที่โลกลืม พ.ศ. 2549 ค่ายเพลงมองโกล เอ็มดีเทป

  • ไม่ต้องร้องไห้
  • สงครามเขื่อน
  • ตราบวันที่เป็นไท
  • สันติผี
  • รัฐฉานบ้านเรา
  • เหตุเกิดที่ตองจี
  • คิดบัญชี
  • ไทยใหญ่ ไทยน้อย
  • ฉันะยิงกะลา
  • สงครามเลือดสาละวิน
  • มาร่วมกัน
  • สั่งน้อง
  • จับอาวุธ
  • ฉานสเตท

ตะวันตกดิน พ.ศ. 2549 ค่ายเพลงวอร์นเนอร์ มิวสิก ไทยแลนด์

  • ตะวันตกดิน
  • พลังเทียน
  • สมภารเซ้งโบสถ์
  • โจรสลัดสิงคโปร์
  • กองหนี้ท่วมบ้าน
  • น้ำตาเพื่อน ต.ค.
  • กระจกวิเศษ
  • 30 บาท รักษาไม่ได้
  • พายุ
  • เว้นวรรค

ทุ่งฝันตะวันรอน พ.ศ. 2549 ค่ายเพลงวอร์นเนอร์ มิวสิก ไทยแลนด์

  • คนไร้ค่า
  • ความจริง
  • กบฏศาสนา
  • ทหารพระราชา
  • ใต้ฟ้าประชาธิปไตย
  • คอริดอร์
  • ทุ่งฝันตะวันรอน

ยืนยงตั้งวงเล่า พ.ศ. 2549 ค่ายเพลงอาร์เอส

  • ราชันย์ฝันสลาย
  • ขี้เมากะเพราแตะ
  • คนเหงาเดือนหงาย
  • ม่วนจังตังค์อยู่ครบ
  • ชายกำจอก
  • ทีวีกับขี้เมา
  • รักลงทัณฑ์
  • ไม่ไล่ก็ออก
  • แมวขโมยสามช่า

คนกับเม้าท์ พ.ศ. 2551 ค่ายเพลงวอร์นเนอร์ มิวสิก ไทยแลนด์

  • คิดถึงสุรพล
  • สงสารชาวนา
  • มะละกอกล้วยแห้ว
  • ผ่านพบที่ผูกพัน
  • ฝันใหญ่
  • เพื่อผู้ลี้ภัย
  • ประชาธิปตวย
  • นายประชา
  • มองอย่างปรีดี
  • ใครเหล้าเคย

เดินต่อไป พ.ศ. 2552 ค่ายเพลงวอร์นเนอร์ มิวสิก ไทยแลนด์

  • เดินต่อไป
  • เติมไฟฝัน
  • ลมหายใจของอนาคต
  • เธอไม่ต้องการ
  • ผู้เฒ่ากับเบ็ดวิเศษ
  • ทางแยก
  • คำตอบอยู่ที่ใจ
  • สามวัน
  • ไร้ฝั่ง
  • เสียงสงคราม
  • หวังเทียม
  • ดาวนำทาง
  • สหายดนตรี

กันชนหมา พ.ศ. 2555 ค่ายเพลงวอร์นเนอร์ มิวสิก ไทยแลนด์

  • กันชนหมา
  • เป็นไปได้ไหม?
  • บ่อเยี่ยะโจ่ย
  • ใจตามน้ำ
  • บาร์กู
  • แทนที่เธอ
  • คนละแผล
  • รับได้เปล่า ?
  • แสงทองส่องทาง
  • เดินทัพทางไกล
  • KEEP JOY ( BONUS TRACK )

วันวานไม่มีเขา...วันนี้ไม่มีเรา พ.ศ. 2555 ค่ายเพลงวอร์นเนอร์ มิวสิก ไทยแลนด์

  • เจิดจรัสจรัล
  • วันวานไม่มีเขา วันนี้ไม่มีเรา
  • 1=0
  • บ้านไร่สัตหีบ
  • ต๊ะตอนยอน
  • ถึงเวลา
  • ไม่อยากทน
  • บ้านสวนเชียงใหม่
  • คอนเสิร์ตเลิกไว
  • มาเถอะมาร้องเพลง

เห็นมั้ยบัวลอย พ.ศ. 2557 ค่ายเพลงวอร์นเนอร์ มิวสิก ไทยแลนด์

  • เห็นมั้ยบัวลอย
  • วางดาบ
  • กระเสียว
  • กรุงเทพเมืองเถื่อน
  • บูซาชิ
  • อยากได้ยิน
  • พะยุง
  • เหมือนเดิม
  • อาจารย์เสก
  • ตี่จู้เอี๊ยะ
  • นาวารัฐบุรุษ

รักสายัณห์น้อยๆ แต่รักนานๆ พ.ศ. 2561 ค่ายเพลงวอร์นเนอร์ มิวสิก ไทยแลนด์

  • คืนฝนตก
  • พบรักปากน้ำโพ
  • รักแล้งเดือนห้า
  • ยืนใจลอยคอยแฟน
  • เกลียดห้องเบอร์ห้า
  • ไก่จ๋า
  • ผู้เสียสละ
  • รักเธอเท่าฟ้า
  • ห้องนอนคนจน
  • ความรักเหมือนยาขม
  • เสียงขลุ่ยเรียกนาง
  • อย่าลืมตัว
  • ฝากเพลงลอยลม
  • บาปบริสุทธิ์ (สายัณห์ สัญญา)

เทวดาเพลง พ.ศ. 2561 ค่ายเพลงวอร์นเนอร์ มิวสิก ไทยแลนด์

  • เทวดาเพลง
  • คนกล่อมโลก
  • ลูกสาวผู้การ
  • นางฟ้ายังอาย
  • เทพธิดาผ้าซิ่น
  • เรียกพี่ได้ไหม
  • จดหมายจากแนวหน้า
  • ทหารอากาศขาดรัก
  • ไอ้หนุ่มตังเก
  • หน้าอย่างเธอจะรักใครจริง
  • น้ำตาอีสาน
  • วานนี้รัก วันนี้ลืม
  • วันนี้สวยกว่าเมื่อวาน
  • เงินสั่งมา

ซิงเกิ้ล

  • คงมาลัย (พ.ศ. 2561)
  • วิ่งบนถนน สะเทือนถึงหัวใจ (พ.ศ. 2561)
  • เช' 2018 (พ.ศ. 2561)
  • เช' 2018 (Spanish) (พ.ศ. 2561)
  • มหัศจรรย์กัญชา (พ.ศ. 2562)
  • เอาไงดีครับพี่ตู่ (พ.ศ. 2562)
  • กัญชาคอมมิชชั่น (Cannabis Commission) (พ.ศ. 2562)
  • ยุบเถอะ เลิกเถอะ (พ.ศ. 2562)
  • หนูกัญชา (พ.ศ. 2562)

ผลงานเพลงพิเศษ

  • สหายพันตา - อัลบั้ม สุรชัยกึ่งศตวรรษ (พ.ศ. 2541)
  • ข้องจิต - อัลบั้ม คนมันส์ (พ.ศ. 2541)
  • หัวใจสะออน - อัลบั้ม เหมันต์สะออน (พ.ศ. 2541) - Cover เพลงของ อัสนี-วสันต์
  • แม่ไม้มวยไทย - เพลงประกอบภาพยนตร์ องค์บาก (พ.ศ. 2546)
  • โอมเพี้ยง - อัลบั้ม ประวัติศาสตร์ 12 ขุนพล ฅ.เพื่อชีวิต (พ.ศ. 2546)
  • น้ำตาอันดามัน - อัลบั้ม ซับน้ำตาอันดามัน (พ.ศ. 2548)
  • ผู้ชนะสิบทิศ , บุเรงนองลั่นกลองรบ - อัลบั้ม ผู้ชนะสิบทิศ (พ.ศ. 2549)
  • บางระจัน 2 - เพลงประกอบภาพยนตร์ บางระจัน 2 (พ.ศ. 2553) - ร่วมกับ บ่าววี
  • คลื่นแห่งศรัทธา - แต่งให้กับ กรมสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ทหารอากาศ (พ.ศ. 2556)
  • เทพเจ้าด่านขุนทด - เพื่อถวายความอาลัยแด่การจากไป ของ หลวงพ่อ คูณ ปริสุทฺโธ (พ.ศ. 2558)
  • สิงห์ใหญ่ หัวใจสิงห์ (ชื่อเดิม - Bring it On) เพลงพิเศษจากคอนเสิร์ต สิงห์ใหญ่ หัวใจสิงห์ (พ.ศ. 2559) - ร่วมกับ อัสนี โชติกุล , พงษ์สิทธิ์ คำภีร์
  • นายทองดีฟันขาว - เพลงประกอบภาพยนตร์ ทองดี ฟันขาว (พ.ศ. 2560)
  • พาหุยุทธ์ - เพลงประกอบโชว์ ONGBAK LIVE องค์บากไลฟ์ (พ.ศ. 2560)

ผลงานรวมเพลง

  • ประวัติศาสตร์ - 12 ขุนพล ฅ. เพื่อชีวิต
  • หนึ่งก้าว ๖๐ เพื่อนพ้องร้องเพลงพงษ์เทพ
  • 3 ช่าแดนซ์
  • 3 ช่า สามัคคี
  • 12 ชีวิต หัวใจสัมพันธ์
  • 12 คน 12 แบบ ทั้งแสบทั้งคัน
  • 13 ชีวัน มันกว่ากันเยอะ
  • เหมันต์สะออน
  • ผูกพัน
  • ตุลาธาร
  • รวมฮิตหัวกะทิ
  • รำลึก 15 สีบสาน 20 ปี วีรชนพฤษภา 35
  • บทเพลงจารึกประวัติศาสตร์ หลวงตามหาบัว มหัศจรรย์มหาบุรุษผู้ยิ่งใหญ่

ผลงานในนามศิลปินรับเชิญ

  • แต่งเพลง คนกับหมา - พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ อัลบั้ม เดี่ยว (พ.ศ. 2528)
  • ร่วมร้องเพลง ไม่เป็นไร , น้ำเอย น้ำใจ , วันนี้ วันดี วันที่เป็นไท - อัสนี-วสันต์ อัลบั้ม บ้าหอบฟาง (พ.ศ. 2529)
  • ร่วมแต่งเพลง เสี่ยวรำพึง - อัสนี-วสันต์ อัลบั้ม ผักชีโรยหน้า (พ.ศ. 2530)
  • ร่วมแต่งเพลง บังเอิญติดดิน - อัสนี-วสันต์ อัลบั้ม กระดี่ได้น้ำ (พ.ศ. 2531)
  • แต่งเพลง หัวใจสะออน - อัสนี-วสันต์ อัลบั้ม ฟักทอง (พ.ศ. 2532)
  • ร่วมร้องเพลง พงพนา / โซโล่ในเพลง หวัง - คาราวาน อัลบั้ม อานนท์ (พ.ศ. 2531)
  • ร่วมโปรดิวเซอร์ / ร่วมร้องเพลง อับดุลเลาะห์ / โซโล่ในเพลง ไส้เดือน , ยับเยิน (ท่อนกลางถึงจบ) / แต่งเพลงและโซโล่ท่อนกลางในเพลง อ้อล้อ - ซูซู อัลบั้ม สู่ความหวังใหม่ (พ.ศ. 2532)
  • แต่งเพลง เกี่ยวก้อย - อัสนี-วสันต์ อัลบั้ม สับปะรด (พ.ศ. 2533)
  • ร่วมร้องเพลง คนไทย - เล็ก คาราบาว อัลบั้ม เรา...คนไทย (พ.ศ. 2534)
  • แต่งเพลง คนรักป่า - น้อย ซานตานอย อัลบั้ม SANTA นอย (พ.ศ. 2535)
  • ร้องเพลง ตัวเปล่า - เล็ก คาราบาว อัลบั้ม ภูผาหมอก (พ.ศ. 2535)
  • พูดนำในเพลง ก่อนจะสาย - หิน เหล็ก ไฟ อัลบั้ม หิน เหล็ก ไฟ (พ.ศ. 2536)
  • ร่วมร้องเพลง ฉันเป็นดอกไม้ - หงา คาราวาน อัลบั้ม รักเมื่อเดือนเมษา (พ.ศ. 2540)
  • ร่วมร้องเพลง อย่า (Please Don't) - โจอี้ บอย อัลบั้ม Fun Fun Fun 1,000,000 (พ.ศ. 2540)
  • ร่วมร้องเพลง คนขายฝัน - ร่วมกับ อัสนี-วสันต์ , เสก โลโซ , ธงไชย แมคอินไตย์ , ใหม่ เจริญปุระ , แอม เสาวลักษณ์ , มาช่า วัฒนพานิช (พ.ศ. 2545)
  • ร่วมร้องเพลง ความเชื่อ - บอดี้แสลม อัลบั้ม Believe (พ.ศ. 2548)
  • ร่วมร้องเพลง โลกขาดรัก - เล็ก คาราบาว อัลบั้ม โลกใบนี้ (พ.ศ. 2552)
  • ร่วมร้องเพลง สุดขอบฟ้า - ไทยเทเนี่ยม อัลบั้ม Still Resisting (พ.ศ. 2553)
  • แต่งเพลง ช่างมันเถอะเหงา - บอดี้แสลม อัลบั้ม dharmajāti (พ.ศ. 2557)
  • ร่วมร้องเพลง UP & DOWN - ของวง CORESONG ร่วมกับ อัสนี โชติกุล เพลงประกอบรายการ CORESONG (พ.ศ. 2558)
  • ร่วมร้องและแต่งเพลง สิงห์ใหญ่ หัวใจสิงห์ - ร่วมกับ อัสนี โชติกุล , พงษ์สิทธิ์ คำภีร์ (พ.ศ. 2559)
  • ร่วมร้องเพลง ไม่จีรัง - F.HERO อัลบั้ม INTO THE NEW ERA (พ.ศ. 2562)

ผลงานเพลงเทิดพระเกียรติ

  • ทรงพระเจริญ ร่วมขับร้องกับ อัสนี โชติกุล และ วสันต์ โชติกุล เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2550
  • พ่อภูมิพล เพื่อแสดงความอาลัยแด่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (เผยแพร่เมื่อ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559)
  • Father Bhumibol (พ.ศ. 2559)
  • คืนสู่สวรรค์ (พ.ศ. 2560)
  • พระราชาโพธิสัตว์ (พ.ศ. 2560)
  • พ่อผู้เป็นนิรันดร์ (พ.ศ. 2560)
  • วันสุดท้ายของพ่อ (พ.ศ. 2560)

คอนเสิร์ตเดี่ยว

  • ยืนยง โอภากุลและเพื่อน กระชับมิตร แสงดวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2548 ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • เอ็กซ์คลูซีฟคอนเสิร์ต ทุ่งฝันตะวันรอน แสดงวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2549 ณ หอประชุมปรีดีพนมยงค์
  • เอ็กซ์คลูซีฟคอนเสิร์ต คนกับเม้าท์ แสดงวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ณ โรงละครอักษราคิงพาวเวอร์
  • เอ็กซ์คลูซีฟคอนเสิร์ตวันวานไม่มีเขา วันนี้ไม่มีเรา แสดงวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ณ บ้านสวนเชียงใหม่ (บ้านของ แอ๊ด คาราบาว) จ.เชียงใหม่

คอนเสิร์ตร่วมกับศิลปินคนอื่น

  • คอนเสิร์ต 3 ตำนานเพื่อชีวิต ร่วมกับ พงษ์สิทธิ์ คำภีร์ และ สุรชัย จันทิมาธร (2541)
  • คอนเสิร์ต ด้วยพลังและกำลังใจ เพื่อโลกใบเดียวกัน FESPIC Games Bangkok 99 (2542)
  • คอนเสิร์ต รวมใจเพื่อ หว่อง คาราวาน (2553)
  • คอนเสิร์ต 3 ตำนานเพื่อชีวิต ดนตรีสานใจ นำนักกีฬาไทยไปโอลิมปิก ร่วมกับ พงษ์สิทธิ์ คำภีร์ และ สุรชัย จันทิมาธร (2555)
  • คอนเสิร์ต สิงห์ใหญ่ หัวใจสิงห์ (2559)
  • คอนเสิร์ต จากภูผาถึงทะเล (2561)
  • คอนเสิร์ต เพื่อนพิณเพลงพนมไพร (2561)
  • คอนเสิร์ต King Of Battle (2562)
  • คอนเสิร์ต Khaosod Legends Charity (2563)

คอนเสิร์ตรับเชิญ

  • นูโว อินเลิฟ แสดงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2544 ณ อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี เป็น คอนเสิร์ตของวงนูโว ร่วมร้องเพลง เป็นอย่างงี้ตั้งแต่เกิดเลย
  • ร่ำไร คอนเสิร์ต แสดงวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 ณ ราชมังคลากีฬาสถาน เป็น คอนเสิร์ตของ อัสนี-วสันต์ ร่วมร้องเพลง วณิพก ชีวิตสัมพันธ์ และ ทรงพระเจริญ
  • Bodyslam Save My Life Concert 20 - 21 ตุลาคม พ.ศ. 2550 แสดงวันที่ อินดอร์สเตเดี้ยมหัวหมาก เป็น คอนเสิร์ตของวงบอดี้สแลม ร่วมร้องเพลง ความเชื่อ และ รักต้องสู้
  • หม่ำ On Stage ตอน หม่ำมองเครื่องบิน แสดงวันที่ 15 - 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ณ ธันเดอร์โดม เมืองทองธานี เป็น คอนเสิร์ตของ หม่ำ จ๊กมก ร่วมร้องเพลง ทะเลใจ
  • GIVE ME 5 CONCERT RATE A แสดงวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2557 ณ อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี เป็น ศิลปินรับเชิญของ เวียร์ ศุกลวัฒน์ ร่วมร้องเพลง คนจนผู้ยิ่งใหญ่ และ บัวลอย

ละครโทรทัศน์

  • นายขนมต้ม ช่อง 7 (พ.ศ. 2539)
  • เขี้ยวเสือไฟ ช่อง 9 อ.ส.ม.ท. (พ.ศ. 2544)
  • ลูกผู้ชายหัวใจเพชร ช่อง 7 (พ.ศ. 2545)
  • กษัตริยา ททบ. 5 (พ.ศ. 2546)
  • มหาราชกู้แผ่นดิน ททบ. 5 (พ.ศ. 2546)
  • เพื่อนรักเพื่อนร้าย ช่อง 7 (พ.ศ. 2549)
  • หงส์ฟ้า ช่อง 7 (พ.ศ. 2553)

ผลงานภาพยนตร์

  • สวรรค์บ้านนา (พ.ศ. 2526)
  • ปล. ผมรักคุณ (พ.ศ. 2527)
  • เสียงเพลงแห่งเสรีภาพ (พ.ศ. 2528)
  • คนเลี้ยงช้าง (พ.ศ. 2533)
  • พรางชมพู กะเทยประจัญบาน (พ.ศ. 2545)
  • ว้อ หมาบ้ามหาสนุก (ดารารับเชิญ) (พ.ศ. 2551)
  • สาระแน ห้าวเป้ง!! (พ.ศ. 2552)
  • คนไททิ้งแผ่นดิน (พ.ศ. 2553)
  • หลวงพี่เท่ง 3 รุ่นฮาเขย่าโลก (พ.ศ. 2553)
  • ยังบาว (พ.ศ. 2556)
  • ส่ม ภัค เสี่ยน (พ.ศ. 2560)
  • The Protect บอดี้การ์ดหน้าหัก (พ.ศ. 2562)

พิธีกร

  • สำรวจธรรมชาติ On The World (ช่อง 5)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

  • พ.ศ. 2557 - Order of the Direkgunabhorn 4th class (Thailand) ribbon.svg เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้น 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)

 

ขอขอบคุณคลิปจาก Youtube Channel : Carabao Official

 

บทความที่เกี่ยวข้อง