ประวัติ แม่ผ่อง ผ่องศรี หรือ ผ่องศรี วรนุช หญิงแกร่งผู้สู้ชีวิต จากเด็กรับใช้สู่ ศิลปินแห่งชาติ (มีคลิป)
ประวัติ แม่ผ่อง ผ่องศรี หรือ ผ่องศรี วรนุช
แม่ผ่อง ผ่องศรี หรือ ผ่องศรี วรนุช เกิดวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2480 ที่บ้านเรือนแพ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ต. คุ้งสำเภา อ.มโนรมย์ จ.ชัยนาท เป็นบุตรนายฉาก อดีตข้าราชการ ตำรวจ ส่วนแม่ ชื่อเล็ก เป็นแม่ค้าขายขนมเร่ มีพี่น้อง 6 คน ชาย 2 คน หญิง 4 คน ผ่องศรี เป็นลูกคนที่ 5 เรียนหนังสือที่โรงเรียนวัดแก่นเหล็ก จบการศึกษาระดับชั้นมธยมศึกษาปีที่ 3 ซึ่งในปัจจุบัน ขายยาสมุนไพร และทำ พิพิธภัณฑ์ผ่องศรี วรนุช
>>> เอาซะน้ำตาเล็ด! ป๋ากิ๊ก จัดหนัก ผ่องศรี วรนุช ถึงกับต้องซับน้ำตา ใน กิ๊กดู๋ สงครามเพลงเงินล้าน
ประวัติ แม่ผ่อง ผ่องศรี หรือ ผ่องศรี วรนุช
ผ่องศรี วรนุช เริ่มต้นการร้องเพลงจากที่ได้ไปอยู่ละครเร่คณะของหนู สุวรรณประกาศ ละครเรชื่อดังจากเพชรบุรี ตอนแรกเป็นคนรับใช้ในคณะและฝึกไปก่อน ด้วยฐานะที่บ้านยากจน เลยขอแม่ว่าจะมาหากินถ้าไม่มีที่ดินไม่มีบ้านจะไม่ขอย้อนกลับไปขอไปตายเอาดาบหน้า เพราะตอนนั้นนอนแพไม่มีบ้านไม่มีที่ดิน จนอยู่ในคณะละครเร่มาปีกว่า จนได้ขึ้นร้องเพลงจากนั้นก็มีคนนำของกินของใช้มาให้ โดยที่ไม่ต้องซื้อเอง แต่เส้นทางไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบเมื่อ โดนตบปางตายเพราะเกิดความอิจฉาริษยากันในคณะ แต่เรื่องราวก็จบด้วยดี เพราะ ผ่องศรี ไม่ได้เอาเรื่อง
ต่อมาในปี 2502 ผ่องศรี วรนุช เริ่มเข้าสู่วงการผลงานอย่างเป็นทางการ โดยได้ร้องเพลง ไหนว่าไม่ลืม แก้กับ สุรพล สมบัติเจริญ เลยทำให้เธอเป็นที่รู้จักและมีชื่อเสียงขึ้นมาอย่างรวดเร็ว จากนั้นก็มีผลงานต่อมาอย่างต่อเนื่อง และมีเพลงฮิตมากมาย อาทิ สาวเหนือเบื่อรัก , ฝนหนาวสาวครวญ , ด่วนพิศวาส , กอดหมอนนอนหนาว , น้ำตาเมียหลวง , ฝากดิน , บาร์หัวใจ , กินข้าวกับน้ำพริก , จันทร์อ้อน , ภูเก็ต จนได้ชื่อว่าเป็น ราชินีลูกทุ่งคนแรกของเมืองไทย
ชีวิตครอบครัว ผ่องศรี วรนุช เคยใช้ชีวิตอยู่กับ เทียนชัย สมยาประเสิรฐ นักร้องนักแต่งเพลงลูกทุ่งชื่อดัง ก่อนที่จะแยกทางกัน จากนั้นได้มาใช้ชีวิตอยู่กินกับ ราเชนทร์ เรืองเนตร นักดนตรีชื่อดัง จน ราเชนทร์ เสียชีวิตไปเมื่อ พ.ศ. 2541 โดยไม่มีทายาท และบั้นปลายของชีวิตนั้น ผ่องศรี วรนุช ตั้งใจไว้ว่าจะรับงานเป็นครั้งคราว และช่วยกิจกรรมงานการกุศลและสาธารณประโยชน์ ซึ่งเจ้าตัวได้ สร้าง พิพิธภัณฑ์ ผ่องศรี วรนุช เพื่อจัดแสดงประวัติความเป็นมา และรางวัลทรงเกียรติยศที่ได้จากการเป็นนักร้อง โดยเปิดให้ผู้ที่สนใจศึกษาเรื่องราวในอดีตได้เข้าชมฟรีย่านพุทธมณฑล สาย 5
ผลงานเพลง (เพลงฮิต)
- กอดหมอนนอนหนาว
- กินข้าวกับน้ำพริก
- คนสุดท้าย
- คืนนี้พี่นอนกับใคร
- ฉันเห็นใจคุณแล้ว
- ด่วนพิศวาส
- น้องเป็นคนรักที่เท่าไหร่
- น้อยใจรัก
- นางกลางเมือง
- น้ำตาเมียหลวง
- น้ำตาลก้นเปรี้ยว
- น้ำฝนเดือนเจ็ด
- บาร์หัวใจ
- ปัญหาหัวใจ
- ฝนหนาวสาวครวญ
- ฝากดิน
- รักลาอย่าเศร้า
- วิมานในฝัน
- สาวเหนือเบื่อรัก
- โสนน้อยครวญ
- หัวอกดาว
- ไหนว่าไม่ลืม
- รอรักจากป้อมพระจุล
- เสียงครวญจากเกาหลี
- จันทร์อ้อน
- ผู้ชายพายเรือ
- จำปาจำเป็น
- เสียงสั่งจากปากเซ
รางวัลที่ได้รับ
- ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีลูกทุ่ง) ปี พ.ศ. 2535
- แผ่นเสียงทองคำพระราชทาน 2 ครั้ง เมื่อ พ.ศ. 2509 จากเพลง "กลับบ้านเถิดพี่" และ พ.ศ. 2522 จากเพลง "โธ่ผู้ชาย"
- เสาอากาศทองคำพระราชทาน 3 ปีซ้อน เมื่อ พ.ศ. 2518 จากเพลง "กินข้าวกับน้ำพริก" พ.ศ. 2519 จากเพลง "เขามาทุกวัน" และ พ.ศ. 2520 จากเพลง "จันทร์อ้อน"
- รางวัลพระราชทานพิเศษจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีในฐานะนักร้องลูกทุ่งหญิงเกียรตินิยมยอดเยี่ยม เพราะชนะเลิศเสาอากาศทองคำ 3 ปีซ้อน เมื่อ พ.ศ. 2521 ได้รับรางวัลในปีนี้แต่ละสิทธิ์ จากเพลง "สาริกาคืนถิ่น"
กึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทยพระราชทาน ครั้งที่ 1 เมื่อ พ.ศ. 2532 ได้รับรางวัลจากเพลง "ไหนว่าไม่ลืม", "ฝากดิน" และครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2534 จากเพลง "ด่วนพิศวาส" - ประกาศเกียรติคุณพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในฐานะนักร้องผู้ขับร้องเพลงใช้ภาษาไทยได้ถูกต้อง และ ชัดเจน เมื่อ พ.ศ. 2534
- รางวัลบุคคลทรงคุณค่าวงการบันเทิง สาขาดนตรี จากงานสยามดารา สตาร์ส อวอร์ดส์ 2015
ขอขอบคุณคลิปจาก Youtube Channel : Nititad AOA Official , โรส มีเดีย แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ Rose Media & Entertainment
อ่านข่าวอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง >>>ผ่องศรี วรนุช
>>> เอาซะน้ำตาเล็ด! ป๋ากิ๊ก จัดหนัก ผ่องศรี วรนุช ถึงกับต้องซับน้ำตา ใน กิ๊กดู๋ สงครามเพลงเงินล้าน