ประวัติ เส้นทางวง มาลีฮวนน่า เจ้าของเพลงสหายสุรา ที่นักร้องแห่ COVER เจ้าพ่อเพลงเพื่อชีวิตแดนใต้
ประวัติวง มาลีฮวนน่า
มาลีฮวนน่า (อังกฤษ: Maleehuana) เป็นคำกลายมาจากภาษาอังกฤษ (Marijuana) แปลว่า กัญชา แต่ได้ถูกนำมาตั้งเป็นชื่อวงดนตรีแนวเพลงเพื่อชีวิต ซึ่งอาจจะหมายถึง การปลดปล่อยอิสรภาพจากกรอบกำบังของสังคม กรอบแห่งความคิด วงมาลีฮวนน่า (Maleehuana) เป็นวงดนตรีแนวเพื่อชีวิต โดยชื่อวงแผลงมาจากคำว่า Marijuana โดยการเปลี่ยนตัวอักษรจาก Mari เป็น Malee เพื่อสื่อถึงดอกไม้ และด้วยเหตุผลนี้จึงทำให้วงมาลีฮวนน่า มีอีกชื่อว่า ‘บุปผาแห่งเสียงเพลง‘
วงมาลีฮวนน่า เริ่มก่อตั้งเมื่อปี 2534 โดย คฑาวุธ ทองไทย หรือ ไข่ มาลีฮวนน่า นักร้องนำของวง ซึ่งในขณะนั้นกำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยศิลปากร, ธงชัย รักษ์รงค์ มือกีต้าร์ ซึ่งขณะนั้นเล่นดนตรีในผับที่ภาคใต้และสมพงษ์ ศิวิโรจน์ ที่กำลังศึกษาที่โรงเรียนไทยวิจิตรศิลปรวมถึงยังเป็นผู้ตั้งชื่อวง ซึ่งเดิมวงมาลีฮวนน่าเล่นดนตรีในสไตล์เร็กเก้
อัลบั้มแรกของ มาลีฮวนน่า ออกมาในปี 2537 โดยใช้ชื่ออัลบั้มว่า บุปผาชน ซึ่งในขณะนั้นยังใช้วิธีฝากขายตามร้านและแผงเทปต่างๆ และในอัลบั้มนี้เองที่ได้ เชิดชัย ศิริโภคา และ เจริญชัย สมผลึก 2 สมาชิกใหม่เข้ามาเพิ่มในฐานะนักดนตรีสนับสนุนให้กับวง และเมื่อปี 2538 มาโนช พุฒตาล จึงได้ชักชวนให้วงมาอยู่ภายใต้สังกัดไมล์สโตน พร้อมทั้งมีอัลบั้มชุดที่ 2 คนเช็ดเงา ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมาก สามารถทำยอดขายไปได้กว่าล้านตลับ จนมีการเริ่มออกทัวร์คอนเสิร์ตในปี 2539 จนเมื่อปี 2543 วงมาลีฮวนน่าได้ย้ายสังกัดมาอยู่ที่ ดรีม เรคคอร์ด ซึ่งเป็นบริษัทของวงเอง
วงมาลีฮวนน่ามีเพลงดังมากมาย เช่น หัวใจพรือโฉ้, ลมเพ ลมพัด, แสงจันทร์, โมรา, เขเรือ, หมาหยอกไก่และเรือรักกระดาษ โดยจุดเด่นของวงมาลีฮวนน่า คือการนำดนตรีที่มีกลิ่นอายวัฒนธรรมทางภาคใต้และบทเพลงที่เลือกใช้คำได้ไพเราะละเมียดละไม ทำให้วงมีชื่อเสียงและประสบความสำเร็จ จนกลายเป็นอีกหนึ่งตำนานในวงการดนตรีของไทย
ปี 2534 เริ่มจากนักศึกษาศิลปะที่รวมตัวกันโดย คฑาวุธ ทองไทย ที่กำลังศึกษาที่มหาวิทยาลัยศิลปากร, ธงชัย รักษ์รงค์ เล่นดนตรีอยู่ตามผับทางภาคใต้ และสมพงษ์ ศิวิโรจน์ ที่กำลังศึกษาที่โรงเรียนช่างศิลป์ และเป็นผู้ตั้งชื่อวงด้วยความชื่นชอบในดนตรีแนวเร็กเก้ แต่วงก็ต้องหยุดลงเพราะสมพงษ์ ศิวิโรจน์ เกิดท้อถอยกับปัญหาสังคม ทุกคนจึงจำต้องแยกย้ายกันไประยะหนึ่ง ต่อมาในปี 2537 วงมาลีฮวนน่าได้ออกอัลบั้มแรกของมาลีฮวนน่าใช้ชื่อว่า บุปผาแห่งเสียงเพลง และมี เชิดชัย ศิริโภคา ได้เข้ามาช่วยเหลือเรื่องการเงินสำหรับการทำเทป โดยออกวางขายแบบใต้ดิน ฝากขายตามแผงเทปต่าง ๆ เช่น ร้านน้องท่าพระจันทร์
คฑาวุธ ทองไทย (ไข่) บ้านเดิมอยู่ ต.ลำไพล อ.เทพา จ.สงขลา. ' มาลีฮวนน่า ดอกไม้ดนตรีจากดินแดนด้ามขวาน “ไม่บอก เธอไม่ รู้แน่ อยากเข้าไปแค่ หัวใจ ที่ยังพรือโฉ้ ก็แค่ผู้ชาย อยู่โบร๊กะแถมยังอดโซ รักของพี่ รักนี้ แค่รักหย่อม ๆ อยาก มีใคร สักคน ช่วยผ่อนคลาย ความเหงา ความเศร้าที่ใจ บน ทางเดิน กว้าง ไกล ยังไม่มีใคร หัวใจ พี่ยังพรือโฉ้...”
ย้อนหลังไปราวๆ 15 ปี ในช่วงที่วงการเพลงไทย อวลไปด้วยเสียงของดนตรีอัลเทอร์เนทีฟ ดูเหมือนไม่มีที่ว่างให้กับงานเพลงในแนวทางอื่น แต่มีบทเพลงหนึ่ง ที่เล่น บรรเลงด้วยเครื่องดนตรีที่เรียบง่าย เสียงร้องสำเนียงใต้ ที่มีความเป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง และท่วงทำนองที่ลื่นไหล ก็สอดแทรกเสียงกีตาร์ที่แตกพร่า ขึ้นมาเป็นเพลงฮิตได้ในยุคนั้น ยุคที่แวดวงดนตรีอินดี้เบ่งบาน ยุคที่วงดนตรีจากแดนใต้ที่ชื่อว่า “มาลีฮวนน่า” เริ่มต้นเดินบนถนนดนตรีของเมืองไทย
มาลีฮวนน่าเริ่มต้นตั้งวงกันในปี 2534 จากความเป็นเพื่อนของกลุ่มนักเรียนศิลปะ และผองเพื่อนอีกหลายหลากสาขาอาชีพ ที่มาใช้ชีวิตกันในกรุงเทพฯ ในช่วงวัยที่เต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ในตัว
มาลีฮวนน่า มีแกนนำคือ คฑาวุธ ทองไทย นักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร ธงชัย รักษ์รงค์ นักดนตรีที่เล่นตามร้านต่างๆ ทางภาคใต้ และสมพงศ์ ศิวิโรจน์ ที่กำลังศึกษาที่โรงเรียนไทยวิจิตรศิลป โดยที่มาของชื่อวงนั้น ผันมาจากคำว่า มารีจัวน่า ที่แปลว่ากัญชา
พวกเขาร่วมกันทำงานเพลงที่มีแรงขับมาจากความรู้สึกนึกคิดที่มีต่อสภาพสังคม สภาพแวดล้อม เพื่อระบายความอัดอั้นอันเกิดจากความแตกต่างของวัย และปมด้อยทางสถานภาพสังคม หากก็ไม่ได้มีผลงานเป็นรูปเป็นร่างออกมา
จนปี 2537 มาลีฮวนน่าก็ออกเดินทางบนถนนสายดนตรีเต็มตัว ด้วยผลงานชุดแรก “บุปผาชน” ที่ได้รับการช่วยเหลือจากอาจารย์ยงยุทธ คำศรี แกนนำของวงด้ามขวาน วงดนตรีเพื่อชีวิต ที่ทำงานในแบบใต้ดินออกมา และประสบความสำเร็จมีแฟนเพลงติดตามเหนียวแน่น จนทำให้ทางวงมาลีฮวนน่ามองเห็นช่องทาง ที่จะส่งต่อความคิด ทัศนคติต่างๆ ที่พวกเขามีในบทเพลงออกไป โดยที่ไม่ต้องอาศัยบริษัทเพลงใหญ่ๆ มาสนับสนุน
อัลบั้ม “บุปผาชน” บันทึกเสียงกันที่ห้องอัดของฮิเดกิ โมริ (Hideki Mori) ซึ่งเป็นบ้านสองชั้นในย่านบางบัวทอง ภาพปกก็เป็นฝีมือของสมพงศ์เอง ส่วนคฑาวุธได้วาดภาพลายเส้นที่ปกใน ปกอัลบั้มพิมพ์กันที่โรงพิมพ์ของมหาวิทยาลัยศิลปากร ส่วนเทปคาสเส็ทท์ ก็ให้บริษัทออนป้าช่วยก็อปปี้ ให้ทางวงกับเพื่อนๆ ช่วยกันนำไปวางขายตามแผงเทปต่างๆ
สำหรับสมาชิกที่ร่วมกันทำงานในตอนนั้นประกอบด้วย คฑาวุธ ทองไทย-ร้องนำ, ธงชัย รักษ์รงค์ ร้องนำ/ กีตาร์, สมพงศ์ ศิวิโรจน์ แต่งเพลง และเชิดชัย ศิริโภคา เข้ามาดุแลในเรื่องธุรกิจ เพียงเวลาไม่นานนัก บทเพลงในแนวทางโฟล์ค ที่เรื่องราวบ่งบอกถึงชีวิตของผู้คน และสังคมรายรอบ โดดเด่นด้วยดนตรีสำเนียงใต้ กับเนื้อร้องที่เป็นภาษาถิ่น ของมาลีฮวนน่าก็เริ่มได้รับความนิยม โดยมีเพลง หัวใจพรือโฉ้ ลมเพลมพัด เรือรักกระดาษ เป็นแรงส่งสำคัญ และทำให้อัลบั้ม บุปผาชน ของมาลีฮวนน่าเป็นอัลบั้มเพลงใต้ดิน ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดชุดหนึ่งในบ้านเรา และนับจากนี้ พวกเขาก็ไม่ได้เป็นที่รู้จักแค่ในแวดวงคนฟังเพลงเพื่อชีวิต แฟนเพลงที่เป็นนักคิดนักเขียนอีกต่อไปแล้ว
ยิ่งในปี 2538 บริษัทไมล์สโตน ของมาโนช พุฒตาล ได้ชักชวนวงมาลีฮวนน่าเข้าไปร่วมงาน ยิ่งทำให้พวกเขากลายเป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้น จนสามารถออกทัวร์ทั่วประเทศได้ในปีต่อมา ซึ่งถือว่ามีวงใต้ดินเพียงไม่กี่วงที่ทำได้แบบนี้ และได้รับความนิยมในลำดับต้นๆ ของวงการเพลงเพื่อชีวิต
มาลีฮวนน่า ยังออกอัลบั้มมาอย่างต่อเนื่อง ในปี 2540 พวกเขามีอัลบั้มชุดที่ 2 “คนเช็ดเงา” ออกมา ก็ได้รับการต้อนรับจากแฟนเพลงอย่างอบอุ่น โดยมีเพลง โมรา และชะตากรรม เป็นเพลงดังประจำอัลบั้ม
ปี 2542 มาลีฮวนน่า ออกอัลบั้มชุดที่ 3 “กลับกลาย” ที่โดดเด่นด้วยเนื้อหาที่เต็มไปด้วยบทกวี ขณะที่เรื่องราวก็เน้นการปุกปลอบให้กำลังใจ
ในปีถัดมา มาลีฮวนน่าก็เปิดบริษัทของตัวเองในชื่อ ดรีม เรคอร์ดส์ ที่สองแกนนำของวง คฑาวุธ ทองไทย กับธงชัย รักษ์รงค์ เป็นหุ้นส่วนใหญ่ โดยมีอัลบั้มชุดที่ 4 “เพื่อนเพ” ออกมาเป็นอัลบั้มแรก อัลบั้มชุดนี้มีที่มาจากการที่ทางวงได้เดินางไปเปิดการแสดงในที่ต่างๆ แล้วได้พูดคุยกับเพื่อนพ้องมากมาย ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มศิลปิน นักประพันธ์ ที่หลายๆ คนเขียนงานเพลงขึ้นมาแล้วไม่มีโอกาสที่จะได้เผยแพร่ มาลีฮวนน่าจึงนำบทเพลงของพวกเขามาใส่ในอัลบั้ม เพื่อนเพ เพื่อที่จะได้เผยแพร่ไปในที่ต่างๆ ได้ง่ายขึ้น
มาลีฮวนน่ายังสานต่อผลงานเพลงออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2545 พวกเขาออกอัลบั้มบันทึกการแสดงสด “ระบำสยามทาส” และตามด้วย “ลมใต้ปีก” ในปี 2546 ก่อนที่สมาชิกของวงจะพักการทำงานดนตรีในนามมาลีฮวนน่าลงชั่วคราว โดยต่างคนต่างก็หันไปทำงานประจำ หรืองานที่ตัวเองสนใจ คฑาวุธ ทองไทย เป็นอาจารย์อยู่ที่มหาวิทยาลัยศิลปากร ทับแก้ว, ธงชัย รักษ์รงค์ ทำธุรกิจห้องอัดเสียง, สมพงษ์ ศิวิโรจน์ ใช้เวลากับการเขียนเพลง
การทำงานเพลง
มาลีฮวนน่า เป็นที่รู้จักของแฟนเพลงทั่วประเทศด้วยเพลง หัวใจพรือโฉ้, ลมเพ ลมพัด, เรือรักกระดาษ และสามารถขายเทปอัลบั้มดังกล่าวได้ถึง 20,000 ตลับ เป็นประวัติการณ์ของวงดนตรีแนวอินดี้ ในปี 2538 มาโนช พุฒตาล เจ้าของค่ายไมล์สโตน ชักชวนให้มาลีฮวนน่าเข้ามาร่วมงาน และมีการเปลี่ยนชื่ออลับั้ม จาก บุปผาแห่งเสียงเพลง เป็น บุปผาชน หลังจากนั้นมาลีฮวนน่าก็เริ่มออกทัวร์คอนเสิร์ตทั่วประเทศในปี 2539 โดยการออกอัลบั้มชุดที่ 2 คือ คนเช็ดเงา ประสบความสำเร็จอย่างมาก โดยมียอดขายถึง 1,000,000 ตลับ ตามด้วยอัลบั้ม กลับกลาย และในปี 2543 มาลีฮวนน่าได้ย้ายค่ายมาอยู่ บริษัท ดรีม เรคคอร์ด จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทของตัวเอง และได้มีการออกอัลบั้มแรกกับทางค่าย คือ อัลบั้ม เพื่อนเพ โดยได้นำเพลงจากเพื่อนๆ ที่รู้จักในขณะทัวร์คอนเสิร์ต หรือเพลงจากเพื่อนสมาชิกในวง ที่ไม่มีโอกาสจะนำเสนอ มารวมไว้ในอัลบั้มดั่งกล่าว.. เพลงสร้างชื่อจากอลับั้มชุดนี้ คือ แสงจันทร์, เรือน้อย ที่ประพันธ์โดย ชวาลา ชัยมีแรง หรือเพลง พร้าว..
สาเหตุที่ทำให้วงแตก
ไม่เคยมีคอเพลงเพื่อชีวิตคนใต้ คนใดคาดคิดว่าจุดแตกหักและความขัดแย้งกันอย่างรุนแรง โดยมีผลประโยชน์เรื่องเงินๆ ทองๆ เป็นเงื่อนไขสำคัญจะเกิดขึ้นกับวงดนตรีเพื่อชีวิตวงดังที่อยู่ในหัวใจของคนภาคใต้ หรือคนภาคอื่นๆ ทั้งประเทศ อย่าง “วงมาลีฮวนน่า”
วันนี้ชัดเจนแล้วว่า 2 แกนนำหลักคนสำคัญของวงมาลีฮวนน่า คือ “นายไข่” คฑาวุธ ทองไทย นักร้องนำของวงมาลีฮวนน่า ขัดแย้งกันอย่างรุนแรงกับ “นายธง”ธงชัย รักษ์รงค์ จนถึงขั้นกล่าวได้ว่า “วงแตก !” และอยากยิ่งนักที่จะรวมตัวหรือขึ้นเวทีร้องเพลงร่วมกันได้อีก
“ตอนนี้ต่างคนต่างไม่ไว้ใจซึ่งกันและกันอย่างรุนแรง ครั้งล่าสุดต่างฝ่ายต่างหวาดระแวงถึงขั้นกล่าวหากันว่ามีการว่าจ้างมือปืนจากภาคใต้ และจากจังหวัดชลบุรีมายิงกัน” นี่คำบอกเล่าถึงสถานการณ์ความขัดแย้งของ 2 แกนนำมาลีฮวนน่าในวันนี้จากปากของคนใกล้ชิด “มาลีฮวนน่า” 1 ในสมาชิกบริษัท ดรีม เรกคอร์ด จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่แกนนำทั้ง 2 คนของ “มาลีฮวนน่า” ก่อตั้งกันขึ้นมาเมื่อปี 2543
ส่วนสาเหตุสำคัญที่เป็นตัวจุดชนวนให้เกิดความขัดแย้งอย่างรุนแรงกันระหว่างแกนนำ “วงมาลีฮวนน่า”ทั้ง 2 คน จนถึงขั้น “วงแตก !” ในวันนี้ คนใกล้ชิดวงมาลีฮวนน่าบอกว่าก็คือความขัดแย้งในเรื่องผลประโยชน์ที่ได้จากการขายผลงานเพลงทั้งเทป วีซีดี.คาราโอเกะ ในชุด “เพื่อนเพ”และการแสดงสดชุด”ระบำสยาม” ซึ่งแสดงที่หอประชุมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อปลายปี 2544 ที่ผ่านมา เพราะจนถึงขณะนี้ผลงานทั้ง 2 ชิ้นนี้ ยังขายดิบขายดี เชื่อกันว่าทำเงินให้มาลีฮวนน่าในนามบริษัทดรีม เรกคอร์ด ไปแล้วไม่ต่ำกว่า 30 ล้าน” คนใกล้ชิด “วงมาลีฮวนน่า”
ถึงวันนี้สิ่งหนึ่งที่สังเกตและบอกได้อย่างชัดว่า “วงมาลีฮวนน่า” แตกแล้ว ! นั่นก็คือการแสดงคอนเสริตทุกครั้งต่อไปนี้ จะไม่ใช้ชื่อในนามวงมาลีฮวนน่าอีกแล้ว แต่จะใช่เพียงในนามของ “ไข่ – มาลีฮวนน่า” หรือ “ธง-มาลีฮวนน่า”เท่านั้นเอง
คนใกล้ชิด “วงมาลีฮวนน่า”กล่าวอย่างเสียดายด้วยว่า
“ความจริงแล้ววันนี้เทปชุดใหม่ ซึ่งเป็นชุดที่ 6 ของ “วงมาลีฮวนน่า” นั้นเสร็จแล้วเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่เมื่อเกิดความขัดแย้งจนถึงขั้น “วงแตก !” แล้ว เทปชุดนี้จะออกมาได้อย่างไร และที่สำคัญมีหลายๆ เพลงคุณภาพ ที่ทั้ง “นายไข่” คฑาวุธ ทองไทย และ “นายธง”ธงชัย รักษ์รงค์ ร้องคู่กัน” อาทิ เช่น เพลง “ปาร์ตี้มาลีฮวนน่า”
“เทปชุด 6 นี้คงจะเป็นชุดสุดท้ายในนาม “วงมาลีฮวนน่า” และน่าจะเป็นชุดประวัติศาสตร์ เพราะออกมาท่ามกลางความขัดแย้งและความแตกแยกของสมาชิกใน “วงมาลีฮวนน่า” คนใกล้ชิด “มาลีฮวนน่า”กล่าวทิ้งท้าย
“วงมาลีฮวนน่า” เริ่มก่อตั้งขึ้นในปี 2534 โดยกลุ่มนักศึกษาศิลปะที่รวมตัวกันโดย คฑาวุธ ทองไทย ซึ่งช่วงนั้นกำลังเรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยศิลปากร,และ ธงชัย รักษ์รงค์ ซึ่งเล่นดนตรีอยู่ตามผับทางภาคใต้,สมพงษ์ ศิวิโรจน์เรียนอยู่ไทยวิจิตรศิลป
“มาลีฮวนน่า”เป็นคำกลายมาจากภาษาอังกฤษ (Marijuana) แปลว่า กัญชา ชื่อของวงเกิดจากช่วงนั้น “สมพงษ์ ศิวิโรจน์”กำลังคลั่งไคล้เร็กเก้เลยตั้งชื่อวงว่ามาลีฮวนน่า ซึ่งเป็นคำที่บัญญัติขึ้นใหม่จากรากเดิม (ภาษาอังกฤษ ) ซึ่งอาจหมายถึงดอกกัญชา ดอกไม้แห่งดนตรี ไม้แห่งสันติภาพ แล้วแต่ใครจะรู้สึก
ในช่วงปี 2534 ทุกคนตั้งใจจะทำวงขึ้นมาแต่ก็ต้องหยุดลงเพราะ สมพงษ์ ศิวิโรจน์ เกิดท้อถอยกับปัญหาสังคม ทุกคนจึงจำต้องแยกย้ายกันไประยะหนึ่ง
ในปี 2537 “วงด้ามขวาน” โดยอาจารย์ยงยุทธ คำศรี ได้ออกอัลบั้มเพลงใต้ดินแล้วได้รับการต้อนรับจากแฟนเพลงมากมาย “วงด้ามขวาน” ได้จุดประกายให้กลุ่มเพื่อนๆ กลุ่มนี้มีกำลังใจที่จะทำวงขึ้นมาอีกครั้ง
และในปี 2537 นี้เอง “วงมาลีฮวนน่า” ได้เกิดขึ้นสมบูรณ์แบบ อัลบั้มแรกของ “มาลีฮวนน่า”ใช้ชื่อว่า บุปผาชน โดย คฑาวุธ ทองไทย รับหน้าที่ร้องนำ, ธงชัย รักษ์รงค์ ร้องนำ/ กีต้าร์, สมพงศ์ ศิวิโรจน์ รับหน้าที่แต่งเพลงและเชิดชัย ศิริโภคา ได้เข้ามาร่วมอีกหนึ่งคนในการช่วยเหลือเรื่องการเงินสำหรับการทำเทป แนวเพลงชุดแรกของมาลีฮวนน่ากลิ่นออกไปทางโฟล์คซองและอะคูสติคนื้อหาของเพลงจะบอกถึงแนวความคิดที่เป็นตัวของตัวเองและสะท้อนสังคมใกล้ตัวได้อย่างเด่นชัดด้วยเอกลักษณ์ทางดนตรีที่ใช้ภาษาท้องถิ่นภาคใต้ เรื่องราวของความรัก การต่อสู้กับความรู้สึกของตัวเอง โดยออกวางขายแบบใต้ดิน ฝากขายตามแผงเทปต่าง ๆ เช่นร้านน้องท่าพระจันทร์ ภายในเวลาไม่นานมาลีฮวนน่าก็สามารถสร้างชื่อให้เป็นที่รู้จักของแฟนเพลงทั่วประเทศด้วยเพลง หัวใจพรือโฉ้,ลมเพ ลมพัด,เรือรักกระดาษ, ในปี 2537 มาลีฮวนน่าสามารถขายเทปได้ 20,000 ม้วน เป็นประวัติการณ์ของวงแนวอินดี้
ในปี 2538 “มาโนช พุฒตาล เจ้าของค่ายไมล์สโตน” เกิดความสนใจจึงชักชวนให้ “มาลีฮวนน่า”เข้ามาร่วมงานกับค่ายไมล์สโตน มาลีฮวนน่าเริ่มออกทัวร์คอนเสิร์ตทั่วประเทศในปี 2539 ชื่อของมาลีฮวนน่าได้รับการยอมรับจากแฟนเพลงมากมายจนติดอยู่ในอันดับต้น ๆ ของวงการเพลงเพื่อชีวิต
ในปี 2540 มาลีฮวนน่าออกอัลบั้มชุดที่ 2 ชุดคนเช็ดเงา ซึ่งก็ได้รับการตอบรับจากแฟนเพลงด้วยดีจากเพลงโมรา,ชะตากรรม และในปี 2542 ตามมาด้วยอัลบั้มกลับกลาย เป็นอัลบั้มที่แฝงไปด้วยบทกวีมีสาระที่ปลุกปลอบประโลมให้กำลังใจปี 2543 มาลีฮวนน่าได้เริ่มผลิตผลงานในนาม บริษัท ดรีม เรคคอร์ด จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทของตัวเองโดยมี 2 หัวเรือใหญ่ คฑาวุธ ทองไทย ,ธงชัย รักษ์รงค์ เป็นหุ้นส่วนใหญ่ และอัลบั้มเพื่อนเพก็ได้เกิดขึ้นจากการที่ “มาลีฮวนน่า” ได้เดินทางไปทัวร์คอนเสิร์ตทั่วประเทศแล้วได้พูดคุยกับเพื่อนพ้องกลุ่มศิลปิน นักประพันธ์ต่าง ๆ ที่เขียนงานเพลงขึ้นมาแล้วไม่มีโอกาสที่จะได้เผยแพร่ต่อที่สาธารณะชน มาลีฮวนน่าในฐานะที่มีโอกาสได้แสดงผลงานจึงมอบโอกาสนี้ให้กับเพื่อน ๆ ด้วยการรวบรวมบทเพลงเหล่านี้มาใส่ใน อัลบั้ม เพื่อนเพ
แต่ใครจะคาดคิดว่า “บริษัท ดรีม เรคคอร์ด” กำลังเป็นเพียงบริษัทเพลงในฝันของ “วงมาลีฮวนน่า”ในปัจจุบัน และผลงานเพลงชุด “เพื่อนเพ” จะเป็นผลงานเพลงชุดสุดท้ายของ “มาลีฮวนน่า” และผลงานเพลงในชุดนี้ก็เป็น 1 ในผลประโยชน์ ที่ทำให้ “เพื่อนพ้อง” ต้องขัดแย้งกันอย่างรุนแรงถึงขั้นเลิกคบกัน และ “มาลีฮวนน่า” ก็พบจุดจบไม่ต่างกับวงดนตรีวงอื่นๆ อีกหลายๆ วง นั่นก็คือ “วงแตก !”
สถานการณ์”วงแตก !” ของ “มาลีฮวนน่า”ในวันนี้ คงจะจบไปพร้อมๆ กับความฝันและความตั้งใจที่จะทำงานเพื่อสังคม โดยหันไปสนใจให้ความสำคัญกับภาคเกษตรตามแนวพระราชดำริของในหลวง โดยจะพยายามสร้างงานภาคเกษตรของคนไทยให้ไปสู่สากล ผลักดันภาคเกษตรของคนไทยให้ไปให้ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก เน้นผู้คนให้รักที่มาและ รากเหง้าของตนเอง ขุดลึกไปถึงแก่นแท้ของความเป็นไทย มีความภาคภูมิใจในภูมิปัญญาของคนไทยด้วยกัน ซึ่งทั้งคฑาวุธ ทองไทย และ ธงชัย รักษ์รงค์ พยายามสร้างฝันนี้มาตลอด
นอกจากนั้น สถานการณ์”วงแตก !” ของ “มาลีฮวนน่า”ในวันนี้ คงจะทำให้ความฝันที่ “มาลีฮวนน่า” จะจัดคอนเสิร์ตในรูปแบบปาร์ตี้ที่เกาะพะงัน ซึ่งจะใช้ชื่อคอนเสิร์ตครั้งนี้ว่า yan in phangan (ยันต์ อิน พะงัน) จบลงไปด้วย ? เพราะหนึ่งในเพลงโปรโมท ในคอนเสริต “ปาร์ตี้เกาะพงัน” ก็คือเพลง “ปาร์ตี้มาลีฮวนน่า”ซึ่งเป็นเพลงที่ร้องคู่กันระหว่าง คฑาวุธ ทองไทย และ ธงชัย รักษ์รงค์ เพราะสถานการณ์ในวันนี้ หรืออนาคต ดูท่าทีแล้วเป็นไปไม่ได้เลย ที่ทั้ง 2 คนนี้ จะขึ้นเวทีร้องเพลงร่วมกันได้อีก และเป็นไปไม่ได้เลยที่ “มาลีฮวนน่า”จะหนีจากคำว่า “วงแตก!” ไปได้
อัลบั้มภาคปกติ
บุปผาชน (พ.ศ. 2537)
- ลมเพ-ลมพัด
- หัวใจละเหี่ย
- วิถีคนจร
- นิรันดร์
- ไปไกล
- เรือรักกระดาษ
- หัวใจพรือโฉ้
- ลานนม-ลมเน
- รักสาวพรานนก
- ชุ่มฉ่ำในดวงใจ
คนเช็ดเงา (พ.ศ. 2539)
- เขเรือ
- หมาหยอกไก่
- ร้องไห้กับเดือน
- เด็กน้อย
- คนเช็ดเงา
- ชะตากรรม
- โมรา
- ฝุ่น (CHIRI CHIRI)
- คนเลว
- คืนใจ
- ชุ่มฉ่ำในดวงใจ
กลับกลาย (พ.ศ. 2542)
- ลืม
- ถนนแปลกแยก
- ตุ้งแกวด
- ก้าวย่าง-ทางเดิน
- หมาล่าเนื้อ
- กลับกลาย
- อาวรณ์
- แปรเปลี่ยน
- สำนึก
- ยุควิบัติ
- เทียมฟ้า
เพื่อนเพ (พ.ศ. 2543)
- แสงจันทร์
- สมิหลา-รูสมิแล
- พร้าวใส่สูท
- คืนมา (SEASON IN LOVE)
- เรือน้อย [จอมจักรวาล 4001] ณ เซียนวิลล์ ยูโรปา
- น้ำตา
- พี่ชาย(ที่แสนดี+แห้ว)
- นักดนตรี
- นกกรงหัวจุก
- ขอทานน้อย
- MUK
เปรือย (พ.ศ. 2545-พ.ศ. 2546)
- ชบา
- ระบำชีวิต
- เรียนรู้
- มาลีฮวนน่าปาตี้
- สายน้ำ..สายเลือด
- ลัง
- ไกลบ้าน
- ละหมาดอารมณ์
- ธารหัวใจ
- ระยำชีวิต
ลมใต้ปีก (พ.ศ. 2546) (อัลบั้มแรกที่ใช้ชื่อ คฑาวุธ ทองไทย)
- ลัง
- จันทร์ฉาย
- ว่าวจุฬา
- วัยรุ่น
- สายน้ำ (KILLING FIELD)
- มุดก้อนเมฆ
- มายา
- กลัว
- สหายสุรา
- รอยทาง
บังใบ้ (พ.ศ. 2549)
- ไอ้ใบ้
- อีสาระภา
- โจใจ
- แผลเมือง
- พี พี มายเดียร์
- บางเงา
- หนาวเล
- เสียสาว
- โปรดทิ้งฉันไว้ที่ปลายขอบฟ้า
- มองอย่างนก
- คนโซ
- ออกเล
ปรายแสด (พ.ศ. 2549)
- กระท่อมกัญชา
- บัวทอง
- เพียงลมพัดผ่าน
- ยิ้มให้กับฝัน
- ช่วยจันทร์(ราหูอมจันทร์)
- ถนนชีวิต
- เพ้อรัก
- แดดสุดท้าย
- นกบินลัดฟ้า
- ในฝัน
ลัง (พ.ศ. 2550) (เป็นการนำอัลบั้ม "ลมใต้ปีก" มาเปลี่ยนชื่อใหม่)
- ลัง
- จันทร์ฉาย
- ว่าวจุฬา
- วัยรุ่น
- สายน้ำ (KILLING FIELD)
- มุด ก้อนเมฆ
- มายา
- กลัว
- สหายสุรา
- รอยทาง
อัลบั้มร่วมกับศิลปินอื่น
- บทเพลงจารึกประวัติศาสตร์ หลวงตามหาบัว มหัศจรรย์มหาบุรุษผู้ยิ่งใหญ่
- หนึ่งก้าว ๖๐ เพื่อนพ้องร้องเพลงพงษ์เทพ
อัลบั้มแสดงสด
- คอนเสิร์ต ระบำสยาม T-ASS
- คอนเสิร์ต รักษ์เขาหลวง
- คอนเสิร์ต พันธุ์เล-๑๐๐๐ โล..พรรลำ
- คอนเสิร์ต มาลีฮวนน่า แคมป์ไฟปีสุดท้าย
- คอนเสิร์ต แคมป์ไฟดนตรี มาลีฮวนน่า (พ.ศ. 2553-2560)
- คอนเสิร์ต พันธุ์เล (พ.ศ. 2553)
- ในสตูดิโอ "ยรํรํโฟล์ค Vol.1" (พ.ศ. 2556)
- ในสตูดิโอ "ยรํรํโฟล์ค Vol.2" (พ.ศ. 2558)
- คอนเสิร์ต มาลีฮวนน่า Exclusive กอดดินถิ่นพ่อ (พ.ศ. 2560)
- คอนเสิร์ต มาลีฮวนน่า Exclusive 4 ย้อนเงา สีสรร ตะลุงเท่ (พ.ศ. 2562)
- คอนเสิร์ต เมื่อใจมันอ่อนล้า มาลีฮวนน่า คือคำตอบ (พ.ศ. 2562)
- คอนเสิร์ต 26 ปี มาลีฮวนน่า เพื่อนกัญ ไว-ฉะ-กัญ (พ.ศ. 2563)
อัลบั้มแสดงสดร่วมกับศิลปินอื่น
- คอนเสิร์ต มหกรรมดนตรีเพื่อธรรมชาติและซีวิต ครั้งที่ 10 (พ.ศ. 2547)
- คอนเสิร์ต ผาดำ ครั้งที่ 1 (พ.ศ. 2550)
- คอนเสิร์ต 60 ปี วีรชนคนกล้า (พ.ศ. 2551)
- คอนเสิร์ต มหกรรมดนตรีเพื่อธรรมชาติและซีวิต ครั้งที่ 12 (พ.ศ. 2551)
- คอนเสิร์ต ผาดำ ครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2551)
- คอนเสิร์ต มหกรรมดนตรีเพื่อชีวิตและธรรมชาติ ครั้งที่ 13 (พ.ศ. 2553)
- คอนเสิร์ต ผาดำ ครั้งที่ 3 (พ.ศ. 2553)
- คอนเสิร์ต มหกรรมดนตรีเพื่อชีวิตและธรรมชาติ ครั้งที่ 14 (พ.ศ. 2553)
- คอนเสิร์ต 80 ปี จิตร ภูมิศักดิ์ ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่คน (พ.ศ. 2553)
- คอนเสิร์ต มหกรรมดนตรีเพื่อธรรมชาติและชีวิต ครั้งที่ 15 (พ.ศ. 2554)
- คอนเสิร์ต ผาดำ ครั้งที่ 4 (พ.ศ. 2554)
- คอนเสิร์ต บันเทิงคดีเดอะมูฟวี่ ฝนโปรยไพร ใจกลางเมือง (พ.ศ. 2555)
- คอนเสิร์ต ผาดำ ครั้งที่ 5 (พ.ศ. 2555)
- คอนเสิร์ต 35 ปี จรัล มโนเพ็ชร (พ.ศ. 2555)
- คอนเสิร์ต มหกรรมดนตรีเพื่อธรรมชาติและชีวิต ครั้งที่ 16 (พ.ศ. 2556)
- คอนเสิร์ต 60 ปี สัญญาหน้าฝน (พ.ศ. 2556)
- คอนเสิร์ต คืนรัง (พ.ศ. 2557)
- คอนเสิร์ต ผาดำ ครั้งที่ 7 (พ.ศ. 2557)
- คอนเสิร์ต เราคนไทยไม่ทิ้งกัน (พ.ศ. 2560)
- คอนเสิร์ต เพลงรักเพลงชีวิต Song For Life (พ.ศ. 2560)
- คอนเสิร์ต คืนรัง 3 (พ.ศ. 2560)
- คอนเสิร์ต history festival 2018 (พ.ศ. 2561)
- คอนเสิร์ต เพื่อนพิณเพลงพนมไพร (พ.ศ. 2561)
- คอนเสิร์ต สหาย (พ.ศ. 2561)
- คอนเสิร์ต สหาย 2 (พ.ศ. 2562)
- คอนเสิร์ต คืนรัง 5 (พ.ศ. 2562)
ภาพยนตร์
- มหาลัยวัวชน (พ.ศ. 2560)
- คืนรัง (พ.ศ. 2562)
ซิงเกิล
- ปลา2น้ำ - เพลง มารเวลา
- เพลง ศศิน
- เพลง คนปากบารา
- เพลง ช่อมาลี
อัลบั้มของอดีตสมาชิก
ธงชัย รักษ์รงค์
- THC มาลีฮวนน่า
- THC ธงชัย รักษ์รงค์ - Yan in Bangkok (เถื่อน กรุงเทพมหานคร)
- Editor
สมพงษ์ ศิวิโรจน์
- มาโนช พุฒตาล - บุตรของนายเฉลียงกับนางอำไพ & สมพงษ์ ศิวิโรจน์ บุตรของนายเลื่อนกับนางซุ่นลิ่น (ร่วมกับ มาโนช พุฒตาล)
- วิกฤติวัยกลางคน
- พ.ประสบโชคดีจริง
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : วิกิพีเดีย
ขอบคุณภาพจาก : facebook.com/วงมาลีฮวนน่า
ฟังเพลงออนไลน์ เพลงใหม่ ได้แล้ววันนี้บน TrueID ทั้ง เว็บไซต์ และ แอปพลิเคชัน