รีเซต

ประเภท และ ความหมายของ เพลงพื้นบ้าน มีกี่แบบ อย่างไรบ้าง

ประเภท และ ความหมายของ เพลงพื้นบ้าน มีกี่แบบ อย่างไรบ้าง
MusicHot
3 พฤศจิกายน 2565 ( 12:28 )
17.7K

เพลงพื้นบ้าน หมายถึง เพลงที่ใช้ร้องกันเองเพื่อความสนุกสนาน ไม่ได้ใช้เป็นอาชีพ ร้องกันแบบปากเปล่า โดยใช้คำพูดที่พูดเล่นหยอกล้อกันได้ แบบไม่มีผิดถูก แต่จะมีจังหวะที่สนุกสนาน และไม่มีคำตายตัวที่นำมาใช้ แต่จะมีจังหวะด้วยการปรบมือบ้าง หรือใช้เครื่องดนตรีมาประกอบแบบง่าย ๆ เช่น ฉิ่ง ฉาบ หรือ กลอง นอกจากนี้จะเป็นแบบร้องรับแบบมีลูกคู่ อย่างเช่น เพลงลำตัด เป็นต้น

ซึ่งเพลงพื้นบ้าน นั้น เริ่มร้องรำกันมาตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงสมัยธนบุรี ซึ่งในสมัยรัตนโกสินทร์นั้นได้เพิ่มเพลงอื่น ๆ เข้ามา แต่ก็ยังคงมีเพลงพื้นบ้านกันอยู่ อย่างเช่นเพลง เกี่ยวข้าวลงแขก เพื่อทำให้สนุกสนานในการลงแขกเกี่ยวข้าวกันนั้นเอง จนถึงสมัยรัชกาลที่ 7 ความนิยมของเพลงพื้นบ้านค่อย ๆ น้อยลง จนเข้าเมื่อ จอมพล ป. พิบูลสงคราม มีการสนับสนุนรำวงมากขึ้น 

ประเภทของเพลงพื้นบ้าน แบ่ง เป็น 4 ประเภท ดังนี้

เพลงพื้นบ้านภาคกลาง

เพลงพื้นบ้านภาคกลาง เป็นเพลงที่เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ รวมทั้งการดำเนินชีวิตของผู้คนในสมัยนั้น นอกจากการทำงานแล้วก็เสริมความสนุกสนานด้วยการร้องเพลงนั้นเอง  เพลงพื้นบ้านภาคกลาง ยังสามารถแยกประเภทได้อีก ดังนี้

  • 1.เพลงที่ร้องเล่นในฤดูน้ำมาก ได้แก่เพลงเรือ เพลงร่อยพรรษา เพลงรำภาข้าวสาร เพลงหน้าใย เพลงครึ่งท่อน เป็นต้น

  • 2.เพลงที่ร้องเล่นในฤดูเกี่ยวข้าวและนวดข้าว ได้แก่ เพลงเกี่ยวข้าว เพลงเต้นรำกำเคียวเพลงจาก ซึ่งใช้ร้องเล่นระหว่างเกี่ยวข้าว สำหรับเพลงสงฟาง เพลงพานฟางเพลงโอก เพลงสงคอลำพวน เพลงเตะข้าว และเพลงชักกระดานใช้ร้องเล่นระหว่างนวดข้าว

  • 3.เพลงที่ร้องเล่นในช่วงตรุษสงกรานต์ ได้แก่เพลงสงกรานต์ ได้แก่ เพลงสงกรานต์ เพลงหย่อยเพลงระบำบ้านไร่ เพลงช้าเจ้าหงส์ เพลงพวงมาลัย เพลงสันนิษฐาน เพลงคล้องช้าง และเพลงใจหวัง เพลงฮินเลเล เพลงกรุ่น เพลงยั่ว เพลงชักเย่อเพลงเข้าทรงต่าง ๆ เป็นต้น

  • 4.เพลงที่ร้องเล่นได้ทุกโอกาส เพื่อความเพลิดเพลิน สนุกสนาน และเกิดความสามัคคีในหมู่คณะมักจะร้องเล่นกันในโอกาสทำงานร่วมกัน หรือมีงานบุญและงานรื่นเริงต่าง ๆโดยเป็นเพลงในลักษณะพ่อเพลงแม่เพลงอาชีพที่ใช้โต้ตอบกันได้แก่ เพลงเทพทองเพลงปรบไก่ เพลงอีแซว เพลงฉ่อย เพลงลำตัด เพลงทรงเครื่อง เป็นต้น

เพลงพื้นบ้านภาคเหนือ 

เพลงพื้นบ้านภาคเหนือ สามารถใช้ร้องเล่นได้ทุกโอกาส โดยไม่จำกัดฤดูหรือเทศกาลใดๆซึ่งใช้ร้องเพลงเพื่อผ่อนคลายอารมณ์และการพักผ่อนหย่อนใจโดยลักษณะการขับร้องและท่วงทำนองจะอ่อนโยน ฟังดูเนิบนาบนุ่มนวลสอดคล้องกับเครื่องดนตรีหลัก ได้แก่ ปี่ ซึง สะล้อ เป็นต้นนอกจากนี้ยังสามารถจัดประเภทของเพลงพื้นบ้านของภาคเหนือได้ 3 ประเภท คือ

  • 1.เพลงซอ ใช้ร้องโต้ตอบกัน โดยมีการบรรเลงปี่ สะล้อและซึงคลอไปด้วย

  • 2.เพลงจ๊อยเป็นการนำบทประพันธ์ของภาคเหนือมาขับร้องเป็นทำนองสั้น ๆโดยเนื้อหาของคำร้องจะเป็นการระบายความในใจ แสดงอารมณ์ความรักความเงียบเหงา มีนักร้องเพียงคนเดียวและจะใช้ดนตรีบรรเลงหรือไม่ก็ได้ เช่นจ๊อยให้กับคนรักรู้คนในใจจ๊อยประชันกันระหว่างเพื่อนฝูงและจ๊อยเพื่ออวยพรในโอกาสต่าง ๆ หรือจ๊อยอำลา

  • 3.เพลงเด็กมีลักษณะคล้ายกับเพลงเด็กของภาคอื่นๆ คือเพลงกล่อมเด็ก เพลงปลอบเด็กและเพลงที่เด็กใช้ร้องเล่นกันได้แก่ เพลงฮื่อลูก และเพลงสิกจุงจา

เพลงพื้นบ้านตะวันออกเฉียงเหนือ

เพลงพื้นบ้านตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ เพลงพื้นบ้านของภาคอีสาน ใช้ร้องเพื่อความสนุกสนานในงานรุ่งเรืองต่าง ๆ สามรถแต่งได้ตามกลุ่มวัฒนธรรม 3 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ กลุ่มวัฒนธรรมหมอลำ กลุ่มวัฒนธรรมเพลงโคราชและกลุ่มวัฒนธรรมเจรียงกันตรึม ดังนี้

  • 1. เพลงพื้นบ้านกลุ่มวัฒนธรรมหมอลำ ประกอบด้วยหมอลำและเซิ้งโดยหมอลำแบ่งการลำและการร้องออกเป็น 5 ประเภทคือ ลำเรื่อง ลำกลอน ลำหมู่ ลำเพลินและลำผีฟ้า ส่วนเซิ้งหรือคำร้อง จะใช้คำร้องรื่นเริง เช่น การแห่บั้งไฟการแห่นางแมว การแห่นางด้งโดยเนื้อเรื่องในการเซิ้งอาจเป็นการขอบริจาคเงินในงานบุญการเซิ้งอวยชัยให้พร หรือการเซิ้งเล่านิทานชาดกตามแต่โอกาส

  • 2.เพลงพื้นบ้านกลุ่มวัฒนธรรมเพลงโคราช เป็นเพลงพื้นบ้านที่เล่นกันมานานในจังหวัดนครราชสีมา หรือโคราชซึ่งเนื้อเพลงมีลักษณะเด่นมนการเล่นสัมผัสอักษรและสัมผัสสระทำให้เพลงน่าฟังยิ่งขึ้น และยังมีเสียงร้อง ไช ชะ ชะ ชิ ชายพร้อมทั้งการรำประกอบแบบเยาะตัวตามจังหวะขึ้นลงซึ่งเพลงโคราชนี้นิยมเล่นทุกโอกาสตามความเหมาะสม

  • 3.เพลงพื้นบ้านกลุ่มวัฒนธรรมเจรียงกันตรึมที่นิยมร้องเล่นกันในแถบจังหวัดที่มีเขตติดต่อกับเขมร ได้แก่ บุรีรัมย์สุรินทร์ และศรีษะเกษ โดยคำว่ากันตรึม นั้นหมายถึงกลองกันตรึมซึ่งเป็นเครื่องดนตรีหลักเวลาตีจะใช้จังหวะเสียงดัง โจ๊ะกันตรึม โจ๊ะตรึม ๆและเจรียงหมายถึง การขับหรือการร้องเพลงมี 2 แบบคือเจรียงใช้ประกอบการบรรเลงดนตรีกันตรึม ซึ่งเมื่อขับร้องไปท่อนหนึ่งดนตรีกันตรึมก็จะรับและบรรเลงยาว ต่อไปเป็นเจรียงดนตรีใช้ร้องในงานโดยจะขับร้องไปเรื่อย ๆ และมีดนตรีบรรเลงคลอไปเบา ๆซึ่งในการร้องเจรียงนั้นสามารถร้องเล่นได้ทุกโอกาสโดยไม่จำกัดฤดูหรือเทศกาล

เพลงพื้นบ้านภาคใต้

เพลงพื้นบ้านภาคใต้ มีอยู่ประมาณ 8 ชนิด มีทั้งการร้องเดี่ยวรวมถึงร้องเป็นหมู่คณะ โดยสามารถแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ

  • 1.เพลงที่ร้องเฉพาะโอกาสหรือในฤดูกาล ได้แก่เพลงเรือ เพลงบอก เพลงนาคำตัก เพลงกล่อมนาคหรือเพลงแห่นาคเป็นต้น

  • 2.เพลงที่ร้องไม่จำกัดโอกาส ได้แก่เพลงตันหยง ซึ่งนิยมร้องในงานบวช งานอตางงานงานขึ้นปีใหม่ และงานมงคลต่าง ๆ เพลงเด็กที่  ร้องกล่อมเด็กให้หลับและเพลงฮูลู หรือลิเกฮูลู ที่เป็นการร้องคล้าย ๆ ลำตัด โดยมีรำมะนาเป็นเครื่องดนตรีประกอบจังหวะกับบทขับร้องภาษาท้องถิ่นคือภาษามลายูเป็นกลอนโต้ตอบ

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก :  baestar

 

คลิปตัวอย่างเพลงพื้นบ้าน

 

 

ขอขอบคุณคลิปจาก Youtube Channel :  บ้านเลขที่ ๑ : โรส มีเดีย

 

 

ฟังเพลงออนไลน์ เพลงใหม่ ได้แล้ววันนี้บน TrueID ทั้ง เว็บไซต์ และ แอปพลิเคชัน 

 

 

อ่านข่าว เพลงใหม่วันนี้ อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง :

 

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

บทความที่เกี่ยวข้อง